3 สาเหตุอาการปวดไหล่ ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจอีกต่อไป |
|
อ้างอิง
อ่าน 175 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
dd
|

อาการ “ปวดไหล่” เป็นอาการหนึ่งที่สร้างความรำคาญใจและความทรมาน เพราะนอกจากจะรู้สึกเจ็บปวดแล้ว ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ยกของลำบาก สวมเสื้อผ้าไม่ถนัด หรือแม้แต่ทำให้เสียบุคลิกภาพได้ อย่างไรก็ตาม อาการปวดไหล่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแต่ละสาเหตุก็ไม่ควรทำให้เรานิ่งนอนใจ และควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร่งด่วน
-
เอ็นไหล่ฉีดขาด
หากว่าเรามีอาการปวดบริเวณข้อไหล่ ร้าวลามมาถึงข้อศอกและข้อมือ ปวดเรื้อรังนานกว่า 2 เดือน อาจจะเป็นไปได้ว่าเส้นเอ็นบริเวณไหล่ของเราฉีกขาด หากทิ้งเอาไว้อาจจะบาดเจ็บเพิ่ม และลามไปเส้นเอ็นบริเวณอื่น และทำให้ยกแขนไม่ขึ้นได้
สาเหตุที่ทำให้เอ็นไหล่ฉีกขาดส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนถึงไหล่ การยกของหนัก การบิดตัวผิดท่า และอีกสาเหตุหนึ่งที่พบค่อนข้างบ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป คือ เอ็นเสื่อม
วิธีการรักษา จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการฉีกขาดของเส้นเอ็น ถ้าเส้นเอ็นขาดไม่ถึง 50% จะใช้กายภาพบำบัดในการรักษา แต่หากฉีดขาดทั้งหมดจะต้องทำการผ่าตัด โดยปัจจุบันจะใช้วิธีการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง แล้วเย็บซ่อมแซมเส้นเอ็น ซึ่งวิธีนี้จะลดความเจ็บปวดและลดระยะเวลาพักฟื้นของคนไข้ได้เป็นอย่างดี
-
ข้อไหล่ติด
ภาวะข้อไหล่ติด เป็นอาการของคนที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้สุด แม้ว่าจะมีคนช่วยขยับก็ตาม โดยอาการเริ่มแรกจะเป็นอาการปวด และจะปวดมากเมื่อเคลื่อนไหวบริเวณข้อไหล่ จนในที่สุดไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ดังใจ
สาเหตุของโรคนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่จะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อทำให้เคลื่อนไหวบริเวณดังกล่าวได้น้อยลง พบมากในผู้ที่มีอายุ 40-60 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน ธัยรอยด์ และโรคหัวใจ
วิธีการรักษาโรคข้อไหล่ติดจะรักษาตามความรุนแรงของอาการ โดยเริ่มแรกจะให้รับประทานยาแก้ปวด หรือฉีดยาแก้ปวดให้กับคนไข้ เพื่อบรรเทาอาการปวดให้ลดน้อยลง และทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อให้ผลที่ดี มีประสิทธิภาพ แต่หากว่าไม่ได้ผลหรือคนไข้มีอาการรุนแรงจะใช้วิธีการผ่าตัดมาช่วยในการรักษาต่อไป
-
ออฟฟิศซินโดรม
สาเหตุยอดฮิตอาการปวดไหล่ของหนุ่มสาวออฟฟิศที่หลายๆ คนมองข้าม เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย อาการปวดไหล่จากออฟฟิศซินโดรมจะเริ่มตั้งแต่อาการปวดล้า แล้วค่อยๆ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ หากว่าเรายังมีพฤติกรรมเดิมๆ อยู่
อย่างไรก็ตาม หากว่ามีอาการปวดไหล่อย่างรุนแรง หรือมีอาการชา ควรจะรีบไปพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาต่อไป
วิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม หากเป็นในระยะเริ่มต้นผู้ป่วยสามารถบริหารร่างกายและยืดกล้ามเนื้อด้วยตัวเอง หากปล่อยให้อาการเรื้อรังอาจจะต้องทำกายภาพบำบัดที่กำกับดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือใช้การแพทย์ทางเลือกอย่างการฝังเข็ม หรือการนวดแผนไทยร่วมด้วย
อาการปวดไหล่ อาจจะเป็นอาการที่เราเป็นบ่อยจนรู้สึกชิน แต่ถ้าปวดแล้วไม่หาย จนเรื้อรังเป็นเดือน ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
|
|
dd [58.8.4.xxx] เมื่อ 26/04/2021 13:24
|