อยากได้เงินสดมาหมุน เอาที่ดินเข้าธนาคารได้ไหม?

อยากได้เงินสดมาหมุน เอาที่ดินเข้าธนาคารได้ไหม?
อ้างอิง อ่าน 267 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

tanya

มีเพื่อนคนหนึ่งเปิดร้านอาหาร แต่ช่วงนี้สภาพคล่องไม่ค่อยดี บ้านก็ผ่อน รถก็กู้ อยากได้เงินก้อนมาใช้ เหลือที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง จึงมาปรึกษาเพื่อนๆ ว่า “ถ้าเอาที่ดินเข้าธนาคาร ได้ไหม?” แล้วจะต้องทำเรื่องขอสินเชื่อแบบไหน? วันนี้เราลองมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน 

 

เอาที่ดินไปจำนองเหมือนเอาบ้านไปจำนองไหม

    ตามกฎหมายแล้ว บ้าน ที่ดิน หรือสิ่งอื่นที่อยู่ติดกับที่ดินเป็นการถาวร เราจะเรียกว่าเป็น “อสังหาริมทรัพย์” ซึ่งส่วนใหญ่เราจะได้ยินสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้าน Home for Cash แต่เมื่อยามที่เราไปขอสินเชื่อ ส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อตัวเดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะเอาบ้านหรือเอาที่ดินเข้าธนาคาร การขอสินเชื่อและการจดจำนองก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มูลค่าหรือวงเงินกู้ที่ได้อาจจะไม่เท่ากัน เพราะในกรณีที่มีสิ่งปลูกสร้างด้วย ธนาคารจะประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแยกกัน จากนั้นจะคำนวณวงเงินกู้ให้เรา 

 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนขอสินเชื่อ

    สำหรับผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อ โดยการเอาที่ดินเข้าธนาคาร ให้เป็นหลักค้ำประกันในการยื่นกู้ สิ่งที่ต้องรู้เป็นอย่างแรกคือ ที่ดินของเราเป็นที่ดินประเภทไหน เพราะการเป็นเจ้าของที่ดินตามกฎหมายแบ่งเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ 

1. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ กล่าวคือ เป็นเจ้าของที่ดิน มีโฉนดที่ดิน มีโฉนดแผนที่ เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเจ้าของที่ดินในลักษณะนี้ เรามีสิทธิ์เต็มที่ในการซื้อขาย จำนอง เราจะเอาที่ดินเข้าธนาคาร ให้เช่า หรือขายก็ได้ ตามที่เราพอใจ

2. เป็นสิทธิครอบครอง ได้จองพื้นที่ทำประโยชน์ เช่น น.ส.3 น.ส.3 ก. ซึ่งที่ดินที่เราได้ครอบครองนี้ เบื้องต้นทางราชการจะไม่ได้ออกโฉนดให้ มีแต่ภาพถ่ายระวางอากาศ สามารถซื้อ-ขายและจดจำนองได้ แต่ราคาประเมินอาจจะต่ำกว่า หรือในบางครั้งธนาคารจะให้เราไปติดต่อขอยื่นเรื่องเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดิน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ที่ดินทุกแปลงจะสามารถเอาเข้าธนาคารได้ เพราะที่ดินที่ได้จากการจัดสรรหรือปฏิรูปที่ดินจากภาครัฐบางฉบับจะระบุชัดว่าห้ามซื้อ-ขาย สามารถเป็นมรดกให้ทายาทได้อย่างเดียว 

 

ขั้นตอนในการดำเนินการ

    สำหรับขั้นตอนการขอสินเชื่อของที่ดินหรือพูดง่ายๆ ก็คือ การเอาที่ดินเข้าธนาคาร มีขั้นตอนดังนี้

  1. ยื่นเอกสารขอสินเชื่อ ประกอบไปด้วย บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน เอกสารแสดงรายได้และรายการเดินบัญชีย้อนหลัง เอกสารหลักทรัพย์ (โฉนดที่ดิน หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์) ในบางครั้งธนาคารจะขอเอกสารเพิ่มเติม ซึ่งเราสามารถจัดเตรียมให้ในภายหลังได้

  2. ธนาคารประเมินราคาหลักประกัน เช่นเดียวกับการขอสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่ไปประเมินหลักประกัน เพื่อพิจารณาวงเงินกู้

  3. แจ้งผลการอนุมัติ ในบางครั้งเราอาจจะได้วงเงินที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าที่เราตั้งใจ พร้อมอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จะแจ้งจำนวนเงินที่ผ่อนชำระรายเดือนและระยะเวลาในการผ่อนชำระ 

  4. ทำสัญญากู้เงิน ระหว่างเรากับธนาคาร ซึ่งเราจะต้องอ่านเอกสารให้ครบถ้วน และสามารถสอบถามในประเด็นที่สงสัยหรือไม่ตรงกับที่เจรจาไว้ 

  5. ทำสัญญาจดจำนองที่กรมที่ดิน และรับเงินจากธนาคาร 

 

    การเอาที่ดินเข้าธนาคารมีขั้นตอนและวิธีการเช่นเดียวกับการขอสินเชื่อบ้าน ซึ่งเราต้องพิจารณาเงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆ อย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ


 
 
tanya [58.8.14.xxx] เมื่อ 27/04/2021 11:13
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :