สาย LAN นั้นมีกี่แบบ
สายแลนแบบ UTP (Unshielded Twisted Pair)
เป็นสายแลนแบบบิดตีเกลียว ของลวดทองแดง โดยสายแลนชนิดนี้จะช่วยในเรื่องลดการรบกวนสัญญาณระหว่างสาย ทำให้ส่งสัญญาณได้ดีกว่าสายที่ไม่ตีเกลียวมักใช้กับคอมพิวเตอร์ไปที่อุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานกำหนดโดยสายนี้จะเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร โดยการสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่โดยคู่สายจะไม่มีการหุ้มฉนวนมีหลายสีหลายเส้นโดยมีพลาสติกทั้งหมด เมื่อไม่มีการป้องกันความเร็วสูงของสายแลน การใช้สายแลน UTP มักจะเหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปอย่างเช่นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่บ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก
สายแลนแบบ STP (Shielded Twisted Pair)
เป็นสายแลนคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม โดยการเอาสายคู่พันเกลียวเพื่อป้องกันการรบกวนของสัญญาณโดยจะมีชีลด์ที่ถูกปิดทุกด้านรอบสายแลน จะมีความแข็งแรงและรับได้ทั้งสัญญาณความเร็วสูงและยังเป็นสายแลน STP ที่พัฒนามาจากสายแลนแบบ UTP จึงมีชีลด์(Shield)ป้องกันสัญญาณรบกวนทำให้สัญญาณดีมากยิ่งขึ้นเหมาะสำหรับสถานที่ที่มีการรบกวนจากภายนอกมาก เช่น อาคารสูง หรือผ่านทางไฟฟ้าหรือระบบเสียงแบบมาตรฐานสูง
โดยหลายแลนนั้นแบ่งได้หลายประเภท
- สายแลนชนิดที่ติดตั้งภายในอาคาร (Indoor Cable)
โดยสายที่ติดตั้งในอาคารส่วนใหญ่นั้น ข้างนอกสายจะหุ้มไปด้วยท่อ PVC เนื่องจากมีความยืดหยุ่นป้องกันจะจากการลามไฟได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดหรือมาตรฐานการป้องกันด้านอัคคีภัย
สามารถแบ่งสายแลนได้ 4 ชนิด ดังนี้
- CM (Communication Metallic)
เหมาะกับการใช้งานทั่วไป เช่น ติดตั้งในชั้นเดียวกัน (Horizontal Wiring) สายชนิดนี้ป้องกันการลามไฟได้ในแบบแนวราบ
- CMR (Communication Metallic Riser)
มักใช้ในการเดินสายในอาคารโดยผ่านการเดินสายในตัวอาคารแบบ (Vertical Shaft) สายแลนชนิดนี้ป้องกันการลามไฟได้ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง
- CMP (Communication Metallic Plenum)
สายชนิดนี้เหมาะกับการเดินสายบนฝ้าและเพดาน หรือช่องฝ้าทีมีอากาศไหลเวียน (Plenum Space) แต่ไม่สามารถป้องกันการลามไฟในแนวดิ่งได้
- LSZH (Low smoke Zero Halogen)
สายตัวนี้มีคุณสมบัติเพิ่มเติมก็คือ หากเกิดอัคคีภัย ตัวสายชนิดนี้จะมีควันน้อยไม่ก่อให้เกิดสารพิษอีกทั้งยังป้องกันการลามไฟได้ทั้งแนวราบและแนวดิ่งเหมือนสายแบบ CMR (Communication Metallic Riser)
- สายแลนชนิดที่ติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor Cable)
สายที่เดินนอกอาคาร ข้างน้องจะทำจาก PE (Polyethylene) ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ไม่สึกกร่อน ไม่สามารถป้องกันการลามไฟได้ ดังนั้นเราควรเลือกสายให้ถูกต้องตามชนิดของการใช้งาน
ในระบบสายแลนจะมีอยู่ 3 แบบ ทั้งในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ และระบบ Network
- Coaxial Cable เรียกว่า (สายโคแอกซ์)
- Copper twisted Pair โดยทั่วไปเรียกว่า สายLAN ,สายEthernet หรือสายNetwork
- Fiber Cable เรียกว่า (สายไฟเบอร์)
โดยทั้ง3แบบนี้จะมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน โดยจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วกับสาย Coaxial Cable กับสาย Fiber Cable จะเป็นสายที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตที่ลากเข้าโมเด็มเข้ากับเราเตอร์บ้านเรา ในส่วนของสาย Copper Twisted Pair ซึ่งคือสายที่เชื่อมระหว่างคอมกับโมเด็มเราเตอร์นั้นเอง
โดยปัจจุบันจะแบ่ง Category ได้ 8 ประเภทคือ
สาย CAT3 และ สาย CAT5
โดยทั้ง 2 สายนี้กลายเป็นไม่เป็นที่นิยม แต่บางที่อาจจะยังใช้ CAT 5อยู่บ้าง แต่มันก็ยังช้าเกินไปสำหรับยุคนี้สายมาตรฐานCAT3และCAT5จึงไม่จำเป็นสำหรับประสิทธิภาพการใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน
สายแลน Category CAT 5e
โดยตัว “E” มาจากคำว่า ปรับปรุง “Enhanced” แต่สายแลนแบบ CAT5 และ CAT 5e ไม่ได้แตกต่างกัน ในการผลิตสายแลน CAT 5e ออก ที่มีการควบคุมอย่างรัดกุมกว่า เพื่อควบคุมสัญญาณให้คงที่ที่สุด
ด้วยสายแลน CAT 5e เป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในตอนนี้ เนื่องจากต้นทุนในการผลิตค่อนข้างต่ำ และมาในความเร็วที่ 1000 Mbps /1 Gbps ก็ตอบโจทย์การใช้งานกับยุคปัจจุบันนี้แล้ว
สายแลน Category CAT 6
ตัวแบนด์วิช ของสายแลน CAT 6 จะสูงกว่าสายแลน CAT 5e มาก ได้ถึง 250 MHz (ซึ่งสายแลนแบบ CAT 5eทำได้เพียง 100MHz) ความยาวของสายอยู่ที่ 100 เมตรที่ทำความเร็วสูงได้ 10 Gbps ได้ความยาวถึง 55 เมตร
สายแลน Category CAT 6a
สายแลน CAT 6a เป็นอีกสายแลนที่เป็นที่นิยมน่าสนใจ ที่มีโปรโตคอล A/V ในตัว และรองรับการใช้งานแบบ HDMI ได้อีกด้วย
โดยสายแลน CAT 6a กับ CAT 6 ต่างกันตรงที่ตัวแบนด์วิชจะเพิ่มมา 500 MHz และในตัวสายก็ยังมีฉนวนช่วยลดปัญหาสัญญาณรบกวน ทำให้มีความเสถียรค่อนข้างสูง แม้ในสภาพตอนที่สัญญาณอื่นรบกวนอยู่
ในปัจจุบันสายแลน CAT 6a น่าสนใจและน่าใช้งานที่สุด
สายแลน Category CAT 6e
หลังจากที่ CAT 6 เปิดตัวได้ไม่นาน ก็มีสายแลนเพิ่มมาตรฐานมาอย่างสายแลน CAT 6e มาต่อเลยโดยมีจุดประสงค์มาในรูปแบบ สายแลน CAT 5e แต่เจ้าสายแลน CAT 6e ก็ยังไม่ได้รับมาตรฐาน จากองค์กร TIA หรือ TelecommuniCATions Industry Association มาควบคุมมาตรฐานของการสื่อสารสายแลนชนิดนี้
สายแลน Category CAT 7 และ CAT 7a
มาตรฐานของ CAT 7 /CAT 7a ค่อนข้างพิเศษตรงที่ CAT มาตรฐานอื่นๆ ในกลุ่ม ANSI/TIA แต่ CAT 7 / CAT 7a รับรอง ISO/IEC
สายแลน Category CAT 8
สายแลนตัวนี้ พึ่งเปิดตัวในปี 2016 (พ.ศ. 2559)
สายแลน CAT 8 ที่ทำความเร็วได้ถึง 40 Gbps ที่มีแบนด์วิชได้ถึง 2000 MHz ตัวนี้เร็วกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่างมาก แต่มีข้อจำกัดสาย ที่ 30-36 เมตร เท่านั้น
สายแลน(LAN)ที่เชื่อมต่อคู่หูบ้านเรือนและออฟฟิศของเรา
วันนี้น่าจะได้รู้จักกันแล้วว่าสายแลนคืออะไร มีผลต่อการใช้ชีวิตการทำงานอย่าไร มีกี่แบบชนิด แบบไหนเหมาะสมต่อสถานที่นั้นๆแล้วแต่ละรุ่นสามารถส่งความเร็ว แบนด์วิช(Bandwidth) และความยาวของสายสูงสุดที่ขนาดเท่าไหร่เพราะหากติดตั้งสายผิด อาจจะทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝันและไม่สามารถป้องกันการลามไฟได้ หรือหากติดตั้งไม่ถูกรุ่น ไม่ถูก category(CAT) กับความเร็วสูงสุดที่ไม่สอดคล้องกับความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่เราติดตั้งได้ หากกำลังมองหาย
สายแลนให้ Personet Shop เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งให้คุณ
การติดตั้งไฟฟ้าครบวงจร คัดสรรจากแบรนด์ชั้นดำและมีคุณภาพรับประกันหลังการขายหายห่วงค่ะ :)